“รถสี่คันในชีวิต”
รถเข็นเด็ก รถจักรยาน รถยนต์ รถเข็นคนไข้
“น้ำทั้งสี่ในชีวิต”
น้ำนม น้ำดื่ม น้ำมึนเมา น้ำเกลือ
“ใบทั้งสี่ในชีวิต”
ใบสูติบัตร ใบประกาศนียบัตร ใบทะเบียนสมรส ใบมรณะบัตร
“เตียงทั้งสี่ในชีวิต”
เตียงเด็ก เตียงเดี่ยว เตียงคู่ เตียงคนไข้
“หนึ่งทางในชีวิต” ทางที่ต้องเดินด้วยตนเอง
“สองดีในชีวิตที่ควรมี” สุขภาพดี กำลังใจดี
“สามสหายในชีวิต”
คนที่กล้าให้ยืมเงิน คนที่ยืมเงินแล้วคืนตามกำหนด คนที่มาส่งคุณขึ้นเชิงตะกอน
“สี่ทุกข์ในชีวิต”
ตัดใจไม่ได้ สละไม่ได้ ยอมแพ้ไม่ได้ ปลงไม่ได้
“ห้าคติท่องไว้ให้ขึ้นใจ”
ต่อให้ยากก็ต้องยืนหยัด ต่อให้ดียังไงก็ต้องลาจาก ต่อให้แย่ยังไงก็ต้องมั่นใจในตนเอง ต่อให้มีมากมายก็ต้องประหยัด ต่อให้แล้งก็ต้องมีน้ำใจ
“หกทรัพย์ในชีวิต”
ร่างกาย ความรู้ ความฝัน ความศรัทธา ความมั่นใจ ความกล้าหาญ
“จน” แปลว่า “มีน้อย” แต่ไม่ได้แปลว่า “ทุกข์”
“รวย” แปลว่า “มีมาก” แต่ไม่ได้แปลว่า “สุข”
“พอเพียง” แปลว่า “มีพอ” ก็ไม่ได้แปลว่า “ทุกข์” หรือ “สุข”
เศรษฐีทานอาหารมื้อหรู ราคาหลักหมื่น ชาวบ้านกินข้าวราดแกงข้างทาง 40 บาท
เมื่อทานลงไปแล้ว ก็จบแค่คำว่าอิ่มเหมือนกัน
วัยรุ่น.. อวดฐานะได้จากการดูว่า ใช้มือถือรุ่นไหน
วัยทำงาน.. อวดฐานะได้จาก ราคารถที่ขับ ไปท่องเที่ยวบ่อยมั๊ย
วัยกลางคน.. อวดฐานะได้จากมูลค่าบ้านหรือคอนโดที่ครอบครองอยู่ และราคาที่จ่ายสำหรับค่าเทอมของลูก(ส่งลูกเรียนที่ไหน)
วัยใกล้ชรา.. อวดฐานะได้จากมีเวลาว่างแค่ไหน ยิ่งมีมาก แสดงว่าคนนั้นรวยมาก(ไม่ต้องทำงานหนัก ๆ รอเกษียณอย่างเดียว)
วัยชรา.. ฐานะไม่ใช่ประเด็นแล้ว ขอแค่มีเงินให้มากพอในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน และ “ร่างกายยังสมบูรณ์” เดินให้ไหว
ไม่มีโรค ไม่ต้องกินยา และยังจำชื่อลูกหลานได้ แค่นี้ก็ถือว่า “รวยยิ่งกว่ารวย”
ทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดก็คือ “ตัวคุณเอง ร่างกายของคุณ สุขภาพของคุณเอง”
เมื่อครั้งนึงคุณเคยใช้ “ทรัพย์สินสุขภาพของคุณ” แบบเปลืองมาก ๆ
พอมาถึงตอนปลายของชีวิตแล้ว คุณจะพบว่า..
คนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่คนที่มีเงินเยอะที่สุด แต่เป็นคนที่มีสุขภาพ และเวลาเหลือมากพอที่จะใช้เงินที่หามาได้