โต้เถียงอย่างมีชั้นเชิง ด้วย 8 เทคนิคนี้ ตำแหน่งสูงกว่า ไม่ได้แปลว่าถูกเสมอไป
1. ให้ฝ่ายตรงข้ามอธิบายความคิดของเขาก่อน
การให้ฝ่ายตรงข้าม แชร์มุมมองหรือความคิดของเขาก่อน สามารถช่วยให้คุณคิดหาคำโต้แย้งได้
นอกจากนี้ ให้คุณลองถามคำถามที่เป็นลักษณะปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้อีกฝ่ายอธิบายให้ได้มากที่สุด
เพราะการทำเช่นนี้ อาจช่วยลดโอกาสที่เขาจะพูดขัด ในระหว่างที่คุณพูดได้
2. ระบุสิ่งที่เห็นด้วยกับเขา
การพูดสนับสนุน บางความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้าม สามารถช่วยให้บรรยากาศดีขึ้นได้
โดยมันจะทำให้อีกฝ่ายใจเย็นลง และไม่เกิดความรู้สึกแง่ลบต่อคุณมากเกินไป
นอกจากนี้ เมื่อความคิดเห็นของอีกฝ่าย ไม่ได้ถูกคุณโจมตีทั้งหมด เขาก็มีแนวโน้มที่จะรับฟังสิ่งที่คุณพูด
3. สบตา
ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามกำลังพูด ให้คุณมองตาเขา เพราะมีงานวิจัยพบว่า การมองคู่สนทนา
จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการจูงใจ ทั้งนี้ การหลบตาคู่ต่อสู้ มักเป็นสัญญาณที่บอกว่า
คุณมีความพึงพอใจในตัวเองต่ำ ในขณะที่การมองตาอีกฝ่าย สามารถบ่งบอกได้ถึงความมั่นใจ และความซื่อสัตย์
4. ยอมรับความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้าม
การแสดงให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นว่า คุณเห็นด้วยกับบางส่วนของความคิดเห็นของเขา พร้อมกับบอกเหตุผลว่าเพราะอะไรนั้น
อาจทำให้อีกฝ่ายเย็นลง และพิจารณาความคิดเห็นของคุณด้วย นอกจากนี้มันยังทำให้บรรยากาศดูผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
5. พูดสิ่งที่คุณเข้าใจ เกี่ยวกับข้อโต้แย้งของฝ่ายตรงข้าม
ก่อนที่คุณจะแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ให้คุณพูดทวนสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามพูดอีกครั้ง
ซึ่งมันสามารถทำให้เกิดความไว้วางใจได้ เพราะคู่สนทนาเห็นว่าคุณฟังสิ่งที่เขาพูด
คุณอาจมีแนวโน้มที่จะชนะการโต้แย้งในครั้งนี้ ถ้าฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่า เขาสามารถไว้วางใจคุณได้
6. เตรียมข้อมูลให้พร้อม
ก่อนที่คุณจะทำการโต้แย้งใครก็ตาม คุณจะต้องเข้าใจสิ่งที่คุณคิดได้อย่างถ่องแท้ก่อน
เพราะคุณจะได้โต้ตอบ ในกรณีที่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ
นอกจากนี้ การรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความคิดเห็นของคู่แข่ง จะสามารถช่วยให้สิ่งที่คุณโต้แย้งดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
7. ลดเสียงให้เบาลง
การพูดเสียงดังอาจทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ แต่มันอาจทำให้คุณเป็นฝ่ายที่พ่ายแพ้
ยิ่งไปกว่านั้น มันอาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามฮึดสู้ และสุดท้ายคุณก็อาจโดนเขาเผด็จศึกแทน
อย่างไรก็ดี หากคุณใช้เสียงที่เบาลงแต่ยังคงชัดถ้อยชัดคำ คนฟังก็จะรู้สึกสบายใจ
และบรรยากาศจะไม่ตึงเครียดจนเกินไป อีกทั้งยังทำให้อีกฝ่ายคล้อยตามได้ง่ายขึ้น
8. กระตุ้นให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นด้วยกับคุณ
การพูดบางคำในขณะที่คุณแสดงความคิดเห็นของตัวเองอยู่นั้น อาจช่วยโน้มน้าวให้คู่ต่อสู้มีท่าทีที่อ่อนลง และคล้อยตามสิ่งที่คุณพูด
โดยคุณอาจลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “จริงไหม” หรือ “ถูกไหม” แทนการพูดไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีคำถามช่วยกระตุ้น
สำหรับใครที่รู้ตัวว่า มักเป็นฝ่ายเสียเปรียบ หรือพ่ายแพ้ทุกครั้งที่มีการโต้เถียง ให้ลองนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นไปปรับใช้ดูนะ