Skip to content
น่าอ่าน
Menu
Menu

9 เทคนิคการเก็บเงิน แบบไม่ให้ตัวเองลำบาก

Posted on 12 มิถุนายน 2022 by น่าอ่าน

1. ออมวันละ 20 บาท

เงิน 20 บาท ฟังดูน้อยมากเลยใช่ไหมครับ แล้วแบบนี้จะออมเงินเป็นก้อนได้จริง ๆ เหรอ บอกเลยว่าอย่าดูถูกธนบัตรใบน้อยครับ

หากคุณทำติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 เดือน (วันหยุดก็อย่าหยุดออมนะครับ) คุณจะมีเงินออมถึง 600 บาท แล้วถ้าออมติดต่อกัน 1 ปีล่ะ

คุณจะมีเงินออมถึง 7,300 บาทเลยล่ะ (ห้ามแกะเงินออกมาใช้ก่อนล่ะ) สำหรับคนที่มองว่า ยังไงก็น้อยไปอยู่ดี

อาจจะเปลี่ยนจาก 20 บาท เป็นออมวันละ 50 บาท หรือ 100 บาทก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การสร้างนิสัยการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ

และการสร้างวินัยการออมเงินของตนเอง อย่าหาข้ออ้างนะครับ ใกล้สิ้นเดือนแล้วขอตามใจตัวเองหน่อย ด้วยการนำเงินที่ต้องออมไปใช้

เพราะเมื่อคุณทำอย่างนั้นครั้งหนึ่ง ครั้งต่อ ๆ ไปก็จะตามมา สุดท้ายก็ออมเงินแทบไม่ได้เหมือนเดิมครับ

2. มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท

หากวันนี้คุณไปทำงาน เวลาซื้อข้าวหรือของใช้ ยังไงก็ต้องมีเศษเงินทอน ได้เหรียญกลับมาบ้านแน่นอน

ก็ออมเหรียญนี่ล่ะครับ ได้มาเท่าไหร่ ก็เก็บใส่กระปุก อย่าเอาออกมาใช้ อาจจะใช้ขวดน้ำ กระป๋องอาหาร

ล้างแล้วเจาะรูหยอดเหรียญ ทำเป็นกระปุกออมสินแบบแนว ๆ ก็ได้ครับ ผมแนะนำให้ใช้ขวดน้ำ หรือภาชนะใส ๆ

เพราะคุณหยอดทุกวัน ๆ เห็นจำนวนเหรียญมันเพิ่มขึ้น ๆ ก็เป็นกำลังใจให้คุณออมต่อไปได้ครับ

3. แบ่งเงินใส่ถุง

ให้คุณลองสังเกตตัวเองดูว่า เฉลี่ยแล้วในแต่ละวัน เสียเงินไปประมาณกี่บาท บวกเงินเข้าไปอีกนิดหน่อยเผื่อมีอะไรฉุกเฉิน

หาตัวเลขกลม ๆ ไว้ แล้วให้นำเงินมาใส่ถุง เพื่อใช้ในแต่ละวัน เช่น หากคุณใช้เงินวันละไม่เกิน 200 บาท

ก็อาจจะใส่ซองไว้ 250 บาท เป็นจำนวนซองเท่าจำนวนวันในเดือนนั้น จากนั้นก่อนออกไปเรียนหรือไปทำงาน ก็หยิบซองเงินมาหนึ่งซอง

การทำอย่างนี้ จะช่วยให้คุณใช้เงินในจำนวนจำกัด ที่เหลือจะได้ออมหมด และฝึกให้คุณวางแผนจัดการเงินในมืออย่างมีคุณค่ามากที่สุดด้วย

4. กินแค่ 150 ถ้าเกิน ต้องหยอดกระปุกตามที่เกิน

กำหนดเลยว่า ภายในหนึ่งวัน คุณต้องใช้เงินไปกับค่าอาหารแค่ประมาณ 100 บาทเท่านั้น หากเกินกว่านี้

เช่น วันนี้คุณจ่ายค่าอาหารไป 200 บาท แสดงว่าคุณต้องหยอดกระปุกเป็นเงิน 50 บาท

วิธีนี้นอกจากจะได้จำกัดงบประมาณตนเอง ในการเลือกซื้ออาหาร ยังได้ออมเงินเพิ่มอีกนิด ๆ ด้วย แบบนี้เงินเก็บหนาแน่นอน

5. มีหลาย ๆ กระปุก

สำหรับวิธีนี้ ง่าย ๆ เลยก็คือ ให้หากระปุกมาหลาย ๆ กระปุก จากนั้นก็เขียนแปะลงไปบนแต่ละกระปุกเลยว่า

อันนี้เก็บไปจ่ายอะไร เช่น ค่ารองเท้าทำงานคู่ใหม่ ค่าทริปไปต่างประเทศ เป็นต้น การทำอย่างนี้ จะช่วยเป็นกำลังใจให้คุณในการออมเงิน

เพื่อเป้าหมายอะไรบางอย่าง คุณอาจนำวิธีออมเงินอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้กับวิธีนี้ด้วยก็ได้ ถึงเวลาที่จะต้องใช้เงิน ก็แคะกระปุกมานับดู

6. หักเศษเงินเดือน

สมมติ คุณได้เงินเดือน 14,570 บาท ก็ลองเอา 570 บาทที่เป็นเศษออกมาเก็บไว้ เท่านี้ก็ได้รู้แล้วว่า

อย่างน้อย ๆ เดือนนี้ฉันมีเงินเก็บ 570 บาทแล้วนะ ง่าย ๆ เลยใช่ไหมล่ะ นี่ยังไม่รวมกับการใช้วิธีอื่น ๆ ในการออมเงินอีกนะเนี่ย

7. เจอแบงค์ใหม่ อย่าใช้

ถ้าคุณได้ธนบัตรใหม่ที่ใบยังสวย ๆ เหมือนกับยังไม่เคยผ่านมือใครมาก่อน ให้คุณเก็บไว้เลย

ซึ่งคุณอาจถามกลับว่า ถ้าไปกดเงินมา หรือไปธนาคารแล้วได้ธนบัตรใหม่มาทั้งหมดเลย แต่ต้องกินต้องใช้นี่

ก็ถ้าเป็นธนบัตร 1,000 หรือ 500 บาท ยังไงก็ต้องนำไปใช้แหละเนอะ

แต่ถ้าเจอธนบัตรย่อย ๆ อย่าง 20 หรือ 50 บาท อย่างนี้อย่าใช้ รีบเก็บเลย

8. ออมเท่าค่ากาแฟ

คุณเป็นหนึ่งในคนที่ซื้อกาแฟทุกเช้า เพื่อให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่าพร้อมทำงานหรือเปล่า ยิ่งซื้อจากร้านชื่อดังบางร้านแล้ว

มูลค่าแทบจะเทียบเท่าอาหาร 3 มื้อเลยด้วยซ้ำ วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้มองเห็นว่า การซื้อกาแฟจากร้าน

ซึ่งดูเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย จริง ๆ แล้ว เมื่อทำทุกวัน จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายตรงนี้แหละที่ทำให้เงินออมคุณหายไปเป็นจำนวนมาก

สมติ คุณซื้อกาแฟทุกวันที่ไปทำงาน ราคาแก้วละ 70 บาท คุณจะได้ออมเงิน 1,400 บาทจากวิธีนี้เพียงอย่างเดียว

แต่ก็เท่ากับว่าคุณเสียเงินไป 1,400 บาทด้วยเช่นกัน ดังนั้น ถ้าซื้อกาแฟน้อยลง เงินที่จะบินออกจากกระเป๋าเงินของคุณ

ก็จะน้อยลง และส่วนนั้นก็จะสามารถกลายมาเป็นเงินออมได้โดยปริยาย

9. ออม 10% จากเงินที่ได้

พ่อค้าแม่ค้า เงินที่ได้มามักจะไม่ค่อยได้เก็บ เพราะเอาไปหมุนเงินซื้อของเพื่อนำมาขายต่ออีกเรื่อย ๆ

มีเงินในบัญชีหรือในมือเมื่อไร ก็เอาไปลงกับการซื้อของหมด ดังนั้น ลองใช้วิธี ออม 10% จากเงินที่ได้ในแต่ละวัน

เช่น วันนี้ขายของได้ 5,000 บาท ก็ให้หยอดลงกระปุก 500 บาท วันไหนขายได้มากก็มีเงินออมมาก

วันไหนขายได้น้อยก็มีเงินออมน้อย แต่ที่สำคัญคือ คุณมีเงินออมทุกวันนะครับ

สำหรับผู้ที่ทำงานรับเงินเดือน คุณก็สามารถทำวิธีนี้ได้เหมือนกัน คือเก็บเงินจากเงินเดือน แบ่งออกมา 10% ทุกเดือน ๆ

แล้วฝากธนาคาร โดยคุณจะต้องไม่นำเงินส่วนนี้ออกมาใช้เลย หากคุณได้เงินเดือนละ 15,000 บาท

ก็เก็บเดือนละ 1,500 บาท เป็นต้น สิ้นปีที มาตรวจสอบบัญชีอีกที อาจจะมีมากกว่าที่คุณคิดก็ได้นะครับ

การออมเงิน จริง ๆ แล้วคุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการออมเพียงแค่วันละนิดวันละหน่อย โดยเน้นที่การสร้างนิสัย และวินัยในการออมเงิน

ออมวันละนิด ก็ยังดีกว่ามัวแต่นั่งคิดว่าออมไม่ไหวนะครับ ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันกันนะครับ