พ่อแม่หลายคน ชอบช่วยเหลือลูกอยู่ตลอดเวลา เพราะกังวลว่าลูกจะทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ไม่ดีพอ
แต่คุณรู้ไหมว่า การทำแบบนี้เป็นการทำให้ลูกของคุณกลายเป็นคนอ่อนแอ ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้
วันนี้เราจะมาบอกว่า 3 ข้อที่หากแม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย หรือมีส่วนช่วยเหลือลูก ๆ น้อยที่สุด จะส่งผลดีกับลูกมากที่สุด
1. แม่ต้องขี้เกียจขยับมือ
สอนให้ลูกเรียนรู้จักพึ่งพาตนเอง คุณแม่ของกุ๊ก เผยประสบการณ์ว่า เธอจะไม่เข้าไปช่วยลูกในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เอง
เช่น เมื่อห้องนอนของกุ๊กไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย แม่จะเตือนกุ๊กว่า ควรจัดห้องอย่างไร เพื่อให้เป็นระเบียบ แต่จะไม่เข้าไปทำให้ลูกเอง
เธอปล่อยให้ลูกได้ทำด้วยตัวเอง ช่วงเปิดภาคเรียน คุณครูขอให้นักเรียนห่อปกหนังสือเรียนเล่มใหม่ของเทอมนี้ แต่กุ๊กทำไม่เป็น
แม่จึงสอนกุ๊กห่อ 1 เล่มก่อนเป็นตัวอย่างให้กุ๊กดู จากนั้นก็ปล่อยให้กุ๊กลองทำเองทั้งหมด กุ๊กไม่อยากห่อเอง จึงไม่ยอมขยับมือ
แม่ก็ไม่สนใจ เธอได้แต่ยืนอยู่ข้าง ๆ พร้อมชี้นิ้วบอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่เข้าไปช่วยห่อ ทำให้กุ๊กต้องนั่งห่อเองทั้งหมด
แม่ของกุ๊กบอกว่า “ความจริงถ้าฉันจะเข้าไปช่วยห่อ จะประหยัดเวลาได้มาก แต่กุ๊กจะไม่มีวันเรียนรู้ที่จะห่อปกหนังสือเองได้เลย
ดังนั้น นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด คือปล่อยให้กุ๊กห่อเอง แม้ว่าจะห่อไม่เรียบร้อยก็ตาม”
ประสบการณ์ของครูพบว่า “แม่ขี้เกียจ” ไม่เคยขยันหมั่นเพียรในการช่วยเหลือลูก ในการทำสิ่งต่าง ๆ แต่ให้ลูกทำเอง
เพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เฉยเมยต่อการฝึกฝน สร้างความรับผิดชอบให้กับลูก
2. แม่ต้องขี้เกียจบ่นหรือพูดมาก ให้ลูกเรียนรู้ที่จะเติมโตด้วยตนเอง
พ่อแม่หลายคน ชอบสร้างความคาดหวังในตัวลูกมากเกินไป อยากให้ลูกทำตามสิ่งที่ตัวเองนั้นต้องการ เพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับลูก
แต่การทำแบบนี้จะทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด กดดัน จนกลายเป็นไม่อยากฟังและทำเป็นหูทวนลม ไม่ใส่ใจกับสิ่งที่แม่พูด
แต่มีครอบครัวหนึ่งที่ทำตรงกันข้าม ในช่วงสุดสัปดาห์ ต้นเล่นเกมเป็นเวลานานมาก และไม่ทำการบ้าน แม่จึงถามเขาว่า
“ลูกกะจะเล่นเกมถึงกี่โมง” ต้นตอบว่า “ขอเล่นอีก 10 นาที” แม่ตอบกลับไปว่า “โอเค ต้องรักษาคำพูดนะ” พอผ่านไป 10 นาที
แม่ก็เดินกลับมาดูอีก ต้นก็ยังคงนั่งเล่นเกมอยู่ที่เดิม แม่โกรธมาก แต่ก็ต้องสงบสติอารมณ์ และพูดอย่างใจเย็นว่า “ปกติลูกเป็นคนรักษาคำพูดไม่ใช่เหรอ”
ในตอนนั้น ต้นเริ่มรู้สึกผิด จึงเดินไปปิดสวิทช์ และรีบไปทำการบ้านทันที นั่นเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ แม่ของต้นเคยพูดหลายรอบ
เกี่ยวกับนิทานเรื่อง “การเป็นคนน่าเชื่อถือ” และนั่นก็ทำให้ต้นค่อย ๆ ซึมซับเข้าไปในจิตใจ ปกติแม่จะเป็นคนที่ให้ความสำคัญ
เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ ทบทวนตำราเป็นอย่างมาก จึงได้ซื้อนิทานสร้างแรงบันดาลใจให้อ่านมากมาย และจากนิทานเหล่านี้
ทำให้ต้นเรียนรู้ที่จะนำมาใช้กับตนเอง เสริมสร้างการควบคุมนิสัยของตนเอง การอดทนอดกลั้นด้านจิตตานุภาพ เพื่อให้ตนเองเป็นคนที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ประสบการณ์ของครูพบว่า “แม่ขี้เกียจ” ไม่ขยันที่จะบ่นทั้งวัน แต่ใช้เหตุผลในการพูดคุย
เพราะเธอรู้ดีว่าลูกไม่ชอบการบ่น แต่เธอขยันในการหาวิธีรับมือ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก และคุณภาพที่ดีเยี่ยมให้ลูก
3. แม่ต้องขี้เกียจ ไม่เข้าไปช่วยลูกทำการบ้าน
มีคุณแม่คนหนึ่งเล่าประสบการณ์ว่า ตนเองไม่เคยสอนการบ้านให้ลูกชายเลย แม่จะเตือนลูกมากกว่าว่า เวลาไหนควรไปทำการบ้านได้แล้ว
เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็บอกแม่คำหนึ่งก็พอ ส่วนการตรวจสอบว่า ลูกชายทำถูกหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของตัวเขาเอง
หรือให้เรียนรู้ว่า ถูกหรือผิดจากที่โรงเรียน แม่มีหน้าที่แค่เซ็นชื่อเท่านั้น ในตอนแรกลูกชายไม่พอใจเป็นอย่างมาก
เขาบอกว่า “แม่ของคนอื่นจะช่วยตรวจการบ้านให้ด้วย ทำไมแม่ขี้เกียจแบบนี้”
เธอตอบลูกชายไปว่า “ไม่ใช่เพราะแม่ขี้เกียจหรอกนะ ลูกคิดดูสิ หากแม่ช่วยลูกตรวจการบ้าน แล้วลูกจะรู้ได้อย่างไร
ว่าผิดตรงไหนบ้าง แล้วต่อไปลูกจะตรวจเองเป็นไหม ตอนสอบ หากผิดลูกจะรู้ไหมว่ามันผิดตรงไหน จงจำไว้นะว่า
ในตอนนั้นไม่มีใครสามารถมาช่วยลูกตรวจข้อสอบได้ ลูกจะได้ฝึกการตรวจความถูกต้อง และเรียนรู้ด้วยตัวเอง”
ในห้องเรียนลูกจะเจอบทเรียนก่อน แล้วจึงจะได้ทำข้อสอบ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ลูกจะได้เจอบททดสอบก่อน แล้วถึงจะได้บทเรียน
นี่คือสิ่งที่ลูกต้องเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด เธอสอนให้ลูกรู้จักพึ่งตนเอง เมื่อพบเจอปัญหา ก็ต้องคิดใคร่ครวญเอง
หากคิดไม่ออกจริง ๆ ค่อยถามแม่ หรือขอคำแนะนำจากแม่ได้
ประสบการณ์ของครูพบว่า “แม่ขี้เกียจ” ไม่เคยชี้นำลูกให้เรียนรู้ แต่ปล่อยให้ลูกทำและคิดอย่างอิสระ แต่เธอก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ
เธอยังให้ความสนใจกับลูก และใช้วิธีการที่ชาญฉลาด เพื่อช่วยแก้ปัญหาเมื่อลูกมีปัญหา มันสอนให้รู้ว่า
ผู้ปกครองควรที่จะปล่อยลูกของตัวเองบ้าง ในเวลาที่สมควร ให้เขาได้เรียนรู้และใช้ชีวิตของตัวเองให้เต็มที่
สิ่งที่ตัวอย่างแม่ ๆ ทั้งหลายทำนั้น มันเป็นวิธีการปลูกฝังลูกน้อยที่ดีมาก เพื่อให้เขาสามารถเติบโตได้ด้วยตัวเอง
และช่วยเหลือตัวเองได้ พ่อแม่ทุกคนมักจะกังวลกับลูก จนไม่กล้าปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้และทำอะไรด้วยตัวเขาเอง
คุณควรเอาความกังวลเก็บไว้ในใจ และปล่อยให้เขาโบยบินไปด้วยวิธีของเขาเอง เพื่อให้เขามีปีกที่แข็งแรงพอ และอยู่ได้ด้วยตัวเองในวันที่ไม่มีคุณปกป้อง
ถ้าอยากให้ลูกเป็นคนใจเย็น ให้ฝึกการรอคอย
ถ้าอยากให้ลูกช่วยเหลือตัวเองเป็น ให้ลูกได้ลองลงมือปฎิบัติ
ถ้าอยากให้ลูกพูดเพราะและมีมารยาท ต้องทำให้ลูกเห็นทุกวัน
ถ้าอยากให้ลูกมีวินัย พ่อแม่ต้องรู้จักรักษาคำพูด
ถ้าอยากให้ลูกแก้ปัญหาได้ ให้ฝึกเขาให้เจอปัญหาบ่อย ๆ
ถ้าอยากให้ลูกกล้าแสดงความคิดเห็น ให้ฝึกถาม เพื่อให้ลูกกล้าแสดงความคิดเห็น
ที่มา l i f e b e e p e r