1. รับฟังแต่ต้องระวัง อย่าให้อารมณ์เราคล้อยตาม
จงเป็นผู้ฟังที่ดีและดูว่า สิ่งที่คนคิดลบพูดกับเรานั้นคือเรื่องใด และจงอย่าคล้อยตาม หรือไหลไปตามกระแสความคิดนั้น
อันจะทำให้จิตใจเราถูกบั่นทอนลงโดยไม่รู้ตัว จงเป็นตัวของตัวเอง และยึดมั่นในความคิดที่เรามั่นใจว่า มาถูกต้องถูกทาง
อย่าไขว้เขวไปกับความคิดสุดโต่งของคนรอบข้าง ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่ง เพื่ออยู่ร่วมกับคนคิดลบ โดยที่เราก็ไม่เสียความเป็นตัวตนด้วย
2. คุยได้ แต่อย่าใส่อารมณ์
การสนทนากับคนที่คิดแง่ลบ อาจทำให้เราเกิดอารมณ์ขุ่นมัว และพยายามเปลี่ยนกระแสอารมณ์นั้น ให้เป็นทางบวก
เช่น การยิ้มให้เขาบ้าง หรือการสอดแทรกมุกตลกย้อนกลับไปบ้าง หรือพยายามดึงประเด็น
ให้เขาออกจากสิ่งที่เขากำลังนำเสนอ ที่สำคัญ ห้ามใส่อารมณ์เด็ดขาด เพราะจะทำให้เรื่องแย่มากกว่าเดิมได้
3. เอาแง่คิดดี ๆ จากคนคิดลบ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ใช่ว่าความคิดลบของคนรอบตัว จะไม่มีประโยชน์ซะทีเดียว ในบางครั้ง สิ่งที่เขาถ่ายทอดมาสู่เรา อาจจะมีบางแง่มุมที่เราเองก็คิดไม่ถึง
และไม่เคยนึกว่าจะมีเรื่องแบบนี้อยู่ บางครั้งการได้ข้อมูลในอีกด้าน อาจทำให้เรามองสิ่งรอบตัวได้กว้างมากขึ้น
การคิดลบเป็นเรื่องที่ไม่ดี เช่นกันกับการมองโลกสวย ที่มีมากเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน
4. เปลี่ยนเรื่องสนทนาให้ไม่เครียดเกินไป
เวลาที่คุยกับคนเหล่านี้ อาจจะต้องเบี่ยงเบนประเด็นบ้าง เช่น เมื่อเขาบ่นถึงสิ่งรอบข้าง และปัญหาในชีวิตที่ต้องเจอ ตัดพ้อทุกสิ่งอย่างในชีวิต
เราอาจจะถามถึงเรื่องของครอบครัว หรือลูก ๆ ของพวกเขา ดูว่าพวกเขาชอบทำอะไร มีอะไรที่ทำให้พวกเขามีความสุข
การแทรกเนื้อหาที่ทำให้คนคิดลบรู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่า อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ทำให้เขาเริ่มหันมามองโลกในแง่บวกบ้างก็ได้
5. พยายามสร้างกิจกรรม ให้คนคิดลบรู้สึกมีความสุข
การอยู่ร่วมกับคนที่มีความคิดติดลบ เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นให้หายไปได้ในทันที
หากจะแก้ไขกันจริง ๆ เราต้องรู้สาเหตุของปัญหา ว่าอะไรคือต้นเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้มองโลกในแง่ร้าย
วิธีการหนึ่งที่จะละลายพฤติกรรมคิดลบได้ดีที่สุด คือพยายามให้เขามีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัท
แน่นอนว่าเขาอาจไม่อยากเข้าร่วม เพราะรู้สึกว่าไม่มีความสุข ไม่อยากอยู่กับสิ่งที่เขาคิดว่ามันเลวร้าย
แต่เป็นหน้าที่ขององค์กร ที่ต้องหาเหตุและผล ในการให้เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้น
อย่างสม่ำเสมอ อันจะค่อย ๆ เปลี่ยนความคิดแง่ลบของเขาได้ในภายหลัง
6. สร้างขอบเขตแห่งความสุขให้กับตัวเรา
ในที่ทำงาน เราต้องเจอกับสารพันปัญหา ไหนจะเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือแม้แต่พวกที่ความคิดติดลบ
หรือคนที่คิดไม่ตรงกับเรา ซึ่งทุกอย่างมันสามารถสะสมให้เราเกิดความเครียด ก่อนอื่น เราต้องพยายามหาขอบเขตแห่งความสุข
แบ่งแยกเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวออกจากกัน ปัญหาในที่ทำงาน เราก็มีจุดที่เก็บไว้ และเราควรรู้ว่า
เวลาไหนที่เราจะอยู่ในเขตแห่งความสุข ที่เราสร้างขึ้น เพื่อชาร์จพลังให้พร้อมแก้ปัญหาได้ต่อไป
7. พยายามอย่าให้มีการแบ่งแยกในที่ทำงาน
สังคมคนทำงาน ยิ่งองค์กรใหญ่ ยิ่งมีคนงานมาก เราอาจเคยเจอปัญหาว่า ไม่ชอบหน้าคนนั้น ไม่ชอบหน้าคนนี้
กลายเป็นแบ่งแยก สิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่มีความคิดติดลบ จะยิ่งถูกซ้ำเติมให้มีอาการมากขึ้น
โดยเฉพาะหากเป็นการทำงานในแผนกเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เราไม่ควรแบ่งแยก และพูดคุยกับทุกคนได้เท่าเทียมกัน
เพื่อให้คนคิดติดลบรู้สึกว่า ไม่มีการแบ่งแยก และก็ไม่ได้มีอะไรแย่เกินไป อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีคุณภาพได้
ในภาวะสังคมยุคใหม่ ความเครียดมีมาในหลากหลายรูปแบบ สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักปรับตัว และแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
อย่าเอาทุกปัญหามาขมวดเป็นปมเดียวกัน เพราะจะทำให้แก้ยาก ค่อย ๆ แก้ไปทีละปัญหา
อันไหนยังแก้ไม่ได้ ก็ค่อยหาวิธีแก้ทีหลัง และไม่ควรนำปัญหามาเป็นอารมณ์ เพราะจะทำให้ความเครียดที่มีนั้นมีมากขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเรา ไม่ให้กลายเป็นคนคิดลบในภายหลังด้วย
ที่มา thaismescenter