มนุษย์ทุกคนมีความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวในที่นี้คือ เห็นแก่ความสุขของตัวเอง
การกระทำทั้งหลาย ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ดีหรือเลว ล้วนมีปัจจัยมาจากความสุขของตนเองทั้งนั้น
วันนี้ เราจะมาบอกถึง 7 นิสัยของคน “เห็นแก่ตัว” ไม่แคร์ความรู้สึกคนอื่น
1. คนอื่นเป็นฝ่ายยอมตลอด
อันนี้เป็นสัญญาณแรก คือ การให้คนอื่นเป็นฝ่ายยอมตลอด ไม่ว่าจะทำอะไรหรือคิดอะไร ก็มักจะเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
และคนอื่นต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่คิด ที่ทำทุกครั้ง แม้บางครั้งคนอื่นอาจจะไม่ชอบสิ่งที่หยิบยื่นให้ก็ตาม
การที่คนอื่นยอม ไม่ได้แปลว่าเขากลัว แต่มันเป็นการรักษามิตรภาพ อย่าลืมว่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” แต่จะมีสักกี่คนที่นึกถึงเรื่องนี้
2. หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ดั่งใจ
อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดเสมอ หากสิ่งที่คาดหวังไม่ได้ดั่งใจ ที่หนักไปกว่านั้น ไม่ว่าจะหงุดหงิดมาจากไหนก็ตาม
มักจะมาระบาย หรือหงุดหงิดใส่คนอื่นอีกต่างหาก เช่น พูดประชดประชัน ตวาด เสียงดัง หรือใครไม่อินไปด้วย
กับปัญหาที่เจอหรือสิ่งที่เล่าให้ฟัง ก็มักจะทำสิ่งนั้นกับเขา เพื่อให้คนอื่นได้รู้สึกแบบเดียวกัน อาจตามมาด้วย
คำพูดประมาณว่า.. “เข้าใจหรือยังล่ะ” หรือ “รู้หรือยังล่ะว่าฉันรู้สึกยังไง”
3. ตัวเองก้าวก่ายเรื่องของคนอื่นได้ แต่คนอื่นห้ามยุ่งเรื่องของตัวเอง
ไม่ชอบให้ใครมาพูดหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ยามคนอื่นพูดหรือเตือน กลับมองว่าเป็นการก้าวก่าย อารมณ์เสีย
ในขณะที่ตัวเองสามารถวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่
4. เอาแต่ใจตัวเอง
ไม่ว่าจะถกเถียง โต้แย้ง หรือกำลังหาคำตอบเรื่องใดอยู่ก็ตาม แต่ในท้ายที่สุด ตัวเองต้องเป็นผู้ที่กำหนดทุกอย่าง
ในเมื่อมีคำตอบ ปักธงอยู่ในใจแล้ว จะขอความคิดเห็นทำไม คือแบบนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบ
แต่ต้องการคนที่มาสนับสนุนความคิดเท่านั้นแหละ อย่าถามให้เหนื่อย เพราะสุดท้าย ก็เลือกสิ่งที่ตัวเองต้องการอยู่ดี
5. อยากให้คนอื่นเป็นอย่างที่ต้องการ
เคยถามความต้องการของคนอื่นบ้างหรือเปล่า ต้องกินเหมือนกัน ต้องไปด้วยกัน ต้องไลฟ์สไตล์แบบเดียวกัน
อันนี้ไม่ใช่แค่เห็นแก่ตัวเท่านั้น แต่เป็นการทำร้ายจิตใจคนอื่นด้วย เพราะมันแสดงว่า ไม่เคยพอใจในสิ่งที่คนอื่นมี
หรือสิ่งที่คนอื่นเป็น แต่กลับอยากให้เป็นอย่างที่ต้องการไปเสียทุกอย่าง
6. ไม่เคยขอโทษ
เป็นฝ่ายผิดแต่กลับมองว่าตัวเองถูก หรือรู้ว่าตัวเองผิด แต่ไม่เคยขอโทษ และที่แย่กว่านั้นคือ ขอโทษแบบไม่จริงใจ ขอโทษแบบขอไปที
7. ไม่เคยช่วย หรือช่วยก็ทวงบุญคุณ
อย่าคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ที่จะปล่อยให้คนอื่นทำทุกอย่าง โดยอ้างว่าเหนื่อย หรือทำมามากแล้ว
ถ้าช่วยก็เพียงเพื่อให้คนอื่นรู้สึกถึงบุญคุณ ทั้ง ๆ ที่ประโยชน์ตกอยู่กับตัวเองมากกว่า
ที่มา liekr